วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก



ประวัติฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก


ประวัติ
ก่อนที่จะมีการจัดตั้งไทยพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลระดับสูงสุดของไทยคือ ถ้วย ก โดยมีการแข่งขันตั้งแต่ พ.ศ. 2459 ถึง พ.ศ. 2538
ไทยพรีเมียร์ลีกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ(FAT) ร่วมกับ 18 ทีมที่แข่งขันใน ถ้วย ก. เดิม โดยแข่งขันในระบบ double round robin league
โดยไทยพรีเมียร์ลีกจะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 to 12 สโมสรจนกระทั่ง พ.ศ. 2550 จึงมีการเพิ่มเป็น 16 สโมสร โดยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลทีมสามอันดับสุดท้ายจะตกชั้นไปสู่ ไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ลีก
เมื่อ พ.ศ. 2550 ไทยพรีเมียร์ลีกได้ทำการรวมลีกกับโปรวินเชียลลีก โดยสโมสรฟุตบอลชลบุรี เป็นทีมแรกจากโปรวิเชียนลีกที่ได้แชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล พ.ศ. 2550
เมื่อ พ.ศ. 2552 AFC ได้มีกฏระเบียบว่าด้วยความเป็น สโมสรฟุตบอลอาชีพที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สมาคมฟุตบอลต้องจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศ ให้เป็นฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งมีดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นประธาน และได้ออกกฏระเบียบเรื่องให้สโมสรฟุตบอลอาชีพต้องดำเนินการจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลขึ้นมาดูแลสโมสร จนส่งผลให้หลายทีมองค์กรรัฐ ธนาคาร ไม่สามารถปรับตัวได้ ต้องทำการขายทีมหรือยุปทีมไป จนเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงของสโมสรไทยพรีเมียร์ลีก2009 ซึ่งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง สโมสรต่างๆ การบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต่างแข่งขันกันนำเสนอรุปแบบการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอล การกระจายตัวไปยังต่างจ. จนทำให้ปี2552จึงเป็นปีที่ ลีกของประเทศไทย กลับมาเริ่มต้นได้รับกระแสความนิยมอย่างมากอีกครั้งหนึ่ง ในปี2553นายวรวี มกูดี ได้มีแนวคิดที่จะเพิ่มทีมในไทยลีกเป็น18ทีม

มีทีมเข้าร่วมการแขง่ขันไทยพรีเมียร์ลีกทั้งหมด 18 ทีม โดยจะทำการแข่งขันในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม โดยแข่งในระบบเหย้าเยือนพบกันหมดเป็นจำนวนทีมละ 34 นัด โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม, เสมอ ได้ 1 แต้ม, แพ้ ไม่ได้แต้ม แล้วนำมาจัดอับดับโดยดูจากจำนวนแต้ม แล้วดูสถิติการพบกันตัวต่อตัว แล้วดูผลต่างประตูได้เสีย แล้วดูจำนวนประตูที่ทำได้ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลสโมสรที่อยู่อันดับสูงสุดจะได้แชมป์ไป ถ้าทีมที่เป็นแชมป์ หรือทีมที่ต้องตกชั้น มีอันดับเท่ากันทำให้เกินโค้วต้าในปีนั้น จะมีการจัดนัดเพลย์ออฟเพื่อหาทีมเป็นแชมป์ หรือตกชั้นต่อไป โดยสามทีมสุดท้ายของลีกจะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรกจากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน

สำหรับ การคัดเลือกตัวแทนไปแข่งขันในระดับเอเชีย ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิไปเล่นในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ และ เอเอฟซีคัพ สำหรับทีมรองชนะเลิศ ขณะนี้ทาง สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย กำลังพิจารณาว่าจะเพิ่มโค้วต้าว่าจะได้สิทธิในรายการ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และ เอเอฟซีคัพ ซึ่งขณะนี้ทีมชนะเลิศยังไม่ได้รับสิทธิให้เตะในรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านรอบเพลย์ออฟ[1]

ไทยพรีเมียร์ลีกมีผู้สนับสนุนตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2546 และมีผู้สนับสนุนอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ผู้สนับสนุนจะกลายเป็นชื่อทางการของลีกในปีนั้นๆ ดังรายชื่อด้านล่าง
  • ผู้สนับสนุน

  • พ.ศ. 2539-2540: จอห์นนีวอล์กเกอร์ (จอห์นนี วอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ซอกเกอร์ลีก )
  • พ.ศ. 2541-2543: คาลเท็กซ์ (คาลเท็กซ์ พรีเมียร์ลีก)
  • พ.ศ. 2544-2546: แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (จีเอสเอ็ม ไทยลีก)
  • พ.ศ. 2546-2548: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยลีก)
  • พ.ศ. 2549-2551: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก)
  • พ.ศ. 2552: ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยพรีเมียร์ลีก)
  • พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน: เครื่องดื่มสปอนเซอร์ (สปอนเซอร์ ไทยพรีเมียร์ลีก)

เงินรางวัล

  • ทีมชนะเลิศ  : 10,000,000 บาท
  • ทีมรองชนะเลิศ  : 2,000,000 บาท
  • ทีมอันดับที่ 3  : 1,500,000 บาท
  • ทีมอันดับที่ 4  : 800,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีเงินบำรุงทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน,เงินรางวัลสำหรับนักฟุตบอลยอดเยี่ยม,ดาวซัลโว,โค้ชยอดเยี่ยม และ เงินรางวัลอื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น